เมนู

แห่งสังขารตามเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นความดับแห่งสังขารตามเป็นจริง
พึงแสวงหาครู เพื่อความรู้ความดับแห่งสังขารตามเป็นจริง เมื่อไม่รู้
ไม่เห็นปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสังขารตามเป็นจริง พึงแสวงหาครู
เพื่อความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสังขารตามเป็นจริง.
[พึงกระทำกิจในอริยสัจ 4 แห่งปัจจยาการทั้งปวง เป็นสูตรหนึ่ง ๆ]

2. สูตรที่ 2-12



[310] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นชราและมรณะ
ตามเป็นจริง พึงกระทำความศึกษาเพื่อความรู้ในชราและมรณะตามเป็น
จริง.
[เปยยาลอย่างนี้ พึงกระทำอันเป็นไปสัจจะ 4]
พึงกระทำความเพียร... พึงกระทำฉันทะ... พึงกระทำความ
อุตสาหะ... พึงกระทำความไม่ย่อท้อ... พึงกระทำความเพียรแผดเผา
กิเลส...พึงกระทำความเป็นผู้กล้า... พึงกระทำความเพียรเป็นไปติดต่อ...
พึงกระทำสติ... พึงกระทำสัมปชัญญะ... พึงกระทำความไม่ประมาท...
ดังนี้แล.
จบอันตรเปยยาลที่ 9

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. สัตถุสูตร 2. นขสิกขาสูตร 3. โยคสูตร
4. ฉันทสูตร 5. อุสโสฬหิสูตร 6. อัปปฏิวานิยสูตร
7. อาตัปปสูตร 8. วีริยสูตร 9. สาตัจจสูตร
10. สติสูตร 11. สัมปชัญญสูตร 12. อัปปมาทสูตร

จบอันตรเปยยาลอันเป็นหัวข้อพระสูตร
เบื้องต้นมีหัวข้อพระสูตร 12 หัวข้อ รวมเป็น 132 สูตรที่เปยยาล
ในระหว่าง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยสัจจะ 4.
จบหัวข้อในอันตรเปยยาลทั้งหลาย.

อันตรเปยยาลวรรคที่ 9



อรรถกถาสัตถุสูตรเป็นต้น



เบื้องหน้าแต่นี้ 12 สูตรที่เป็นไปโดยนัยมีอาทิว่า สตฺถา ปริเย-
สิตพฺโพ
ดังนี้ ชื่อว่า อันตรเปยยาลวรรค. พระสูตรทั้งหมดนั้น
ท่านกล่าวตามอัธยาศัยของเวไนยบุคคลผู้ตรัสรู้โดยประการนั้น ๆ. ในบท
เหล่านั้น. บทว่า สตฺถา ได้แก่ผู้เป็นพระพุทธเจ้าก็ตาม พระสาวกก็ตาม
ซึ่งเป็นที่อาศัยของผู้ได้มรรคญาณ นี้ชื่อว่าศาสดา ศาสดานั้นพึงแสวงหา.
บทว่า สิกฺขา กรณียา ได้แก่พึงทำสิกขาทั้ง 3 อย่าง. บรรดาโยคะเป็น
ต้น บทว่า โยโค ได้แก่การประกอบ. บทว่า ฉนฺโท ได้แก่ความ
พอใจในกุศล คือความเป็นผู้ใคร่จะทำ. บทว่า อุสฺโสฬฺหิ ได้แก่ความ
เพียรที่มีประมาณยิ่งที่ทนต่อสิ่งทั้งปวง. บทว่า อปฺปฏิวานี แปลว่า
ไม่ถอยกลับ. บทว่า อาตปฺปํ ได้แก่ความเพียรอันทำกิเลสให้ร้อนทั่ว
คือวิริยะนั่นเอง. บทว่า สาตจฺจํ ได้แก่การกระทำเป็นไปติดต่อ.
บทว่า สติ ได้แก่สติที่กำหนดสัจจะ 4 เป็นอารมณ์ ด้วยอำนาจชรา
และมรณะเป็นต้น. บทว่า สมฺปชญฺญํ ได้แก่ญาณเช่นนั้นแหละ.